พอดคาสต์จากโครงการ ”จริยธรรมปัญญาประดิษฐ์จากพื้นดิน” สนับสนุนโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในพอดคาสต์นี้เราจะพูดถึงปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI จากมุมมองทางสังคม จริยศาสตร์ วัฒนธรรม และมิติอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำความเข้าใจบทบาทของปัญญาประดิษฐ์ในสังคม ตลอดจนพิจารณาเรื่องราวสำคัญๆที่เกี่ยวข้องกับมิติทางจริยธรรมและการกำกับดูแลปัญญาประดิษฐ์ โดยเฉพาะในบริบทของประเทศไทย โครงการนี้เน้นจริยธรรม ”จากพื้นดิน” ในความหมายที่ว่า หลักการทางจริยธรรมที่นำมาใช้กับปัญญาประดิษฐ์ ควรจะมาจากสถานะเฉพาะของพื้นที่ที่ปัญญาประดิษฐ์ถูกนำมาใช้ แทนทีจะเป็นการคิดลอยๆจากหลักการกว้างๆแล้วนำมาใช้กับทุกที่ เว็บไซต์ของพอดคาสต์อยู่ที่ https://aiethicsfromtheground.podbean.com/ เว็บของช่องยูทูป https://www.youtube.com/@SorajHongladarom เนื่องจากเนื้อหาในแต่ละตอนของพอดแคสต์ มีการอ้างอิงถึงเอกสารหรือบทความต่างๆ ก็เลยนำเสนอบทความเหล่านั้นในบล๊อก https://aiethicsfromtheground.blog/ โดยจะทยอยใส่ลิงค์ของบทความไปทีละเอพิโสดในบล๊อกนี้
ผมเล่าเรื่องการไปร่วมประชุมวิชาการของสมาคม International Association of Computing and Philosophy ซึ่งได้จัดขึ้นที่มหาวิทยาลัย Twente ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในระหว่างวันที่ 1 - 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2568 ที่ผ่านมา ผมได้เสนอบทความเรื่อง "ทรรศนะของพุทธปรัชญากับของสปิโนซาเกี่ยวกับความเป็นผู้กระทำของปัญญาประดิษฐ์" เรื่อง "ความเป็นผู้กระทำ" เกี่ยวกับว่าระบบจักรกลเช่นเอไอ จะสามารถริเริ่มกระทำการใดๆได้เองหรือไม่ โดยเสมือนว่ามี "ความตั้งใจ" หรือ "เจตน...
ผมได้ไปร่วมประชุมงาน Global Forum on the Ethics of AI ซึ่งจัดโดยองค์การยูเนสโก Global Forum นี้จัดเป็นครั้งที่สาม และครั้งนี้ได้มาจัดที่กรุงเทพฯ ที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ ราชประสงค์ ผมเข้าร่วมงานประชุมข้างเคียง หรือ side event ซึ่งจัดควบคู่กับงานประชุมใหญ่ และจริงๆก็มีเนื้อหาสาระน่าสนใจมากกว่าหลายงานในประชุมใหญ่ เนื้อหามีเกี่ยวกับจิต สมอง และ "การอ่านออกเขียนได้" เรื่องเอไอ
เราคุยกันเกี่ยวกับชื่อของโครงการ ว่าทำไมต้องเป็น "จากพื้นดิน" พร้อมกับตัวอย่างของการประยุกต์ใช้เอไอที่เกี่ยวข้องกับหลักการจากพื้นดิน
เอพิโสดนี้เป็นเนื้อหาต่อเนื่องจากเอพิโสดที่แล้ว เราพูดกันถึงเรื่องบทบาทของปัญญาประดิษฐ์ในการพัฒนาที่ยั่งยืน การพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นแนวคิดที่ผสานการพัฒนาเศรษฐกิจที่ควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อให้โลกใบเดียวของเรานี้สามารถช่วยให้มนุษยชาติดำรงต่อไปได้ โดยไม่ทำลายทรัพยากรให้หมดไปเสียก่อน
ปัญญาประดิษฐ์มีบทบาทสูงมากในการพัฒนาและสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การพูดกันเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ในประเทศไทยส่วนมากก็อยู่ในหัวข้อนี้ ในตอนนี้เราพูดกันเกี่ยวกับมิติทางจริยธรรมของการใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการพัฒนา รวมไปถึงความสามารถต่างๆของปัญญาประดิษฐ์ในเศรษฐกิจ ทั้งในภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรม
ผศ. ดร. เจิด บรรดาศักดิ์มาคุยกับเราเกี่ยวกับความสัมพันธ์กันในมิติต่างๆระหว่างปัญญาประดิษฐ์กับประชาธิปไตย เรื่องที่คุยกันก็มีว่า เอไอส่งเสริมหรือขัดขวางกระบวนการของประชาธิปไตยอย่างไรหรือไม่ และกระบวนการประชาธิปไตยมีส่วนในการจัดการหรือกำกับดูแลเอไออย่างไร
เราพูดคุยกับอาจารย์ใกล้รุ่ง อิโซจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอาจารย์ขนิษ พุกกะเวสจากมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่องมิติทางสังคมและจริยธรรมของการใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ในการซื้อขายหลักทรัพย์ งานของอาจารย์ทั้งสองเป็นงานที่ได้รับการสนับสนุนจากโครงการ เราคุยกันเกี่ยวกับความไม่เป็นธรรมที่อาจเกิดจากการผิดไปจากภาวะปกติของกลไกตลาด ซึ่งมาจากการใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ และแนวทางแก้ไข
เรายังคงสนทนากับผู้รับทุนจากรุ่นหนึ่งของโครงการ "จริยธรรมปัญญาประดิษฐ์จากพื้นดิน" วันนี้เราคุยกับคุณทัตดนัย คมคันศร ซึ่งทำวิจัยเกี่ยวกับ "ช่องว่างของความรับผิดชอบ" ในเอไอ คุณทัตดนัยเสนอว่าแทนที่เราจะมองหาช่องว่างของการรับผิด ซึ่งอาจจะทำได้ยากขึ้นในโลกที่เอไอมีความสามารถในการทำการต่างๆได้เองมากขึ้น เราควรจะหาเรื่องการอธิบายได้และการตอบคำถามว่าเหตุการณ์ที่ต้องมีการรับผิดชอบเกิดขึ้นได้อย่างไรมากกว่า และไม่ว่าอย่างไร การทำงานของระบบที่...
เราพูดคุยกับอาจารย์ชนัญญา ประสาทไทย ผู้รับทุนสนับสนุนจากโครงการจริยธรรมปัญญาประดิษฐ์จากพื้นดิน อาจารย์พูดเกี่ยวกับเอไอกับ "ความรู้ต้องห้าม" ว่าเอไอประเภท "แบบจำลองภาษาขนาดใหญ่" (Large Language Models) มีทรรศนะอย่างไรต่อความรู้ต้องห้ามในสังคมไทย บทความของอาจารย์จะตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Integrative and Innovative Humanities ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ฉบับเดือนพฤษภาคมนี้
ในเอพิโสดนี้ ผมเล่าถึงบทความของ Charles Goodman จาก SUNY Binghamton เกี่ยวกับบทบาทของอารมณ์ความรู้สึกสำนึกผิดในการปลูกฝังปัญญาประดิษฐ์ให้มีความรู้สึกผิดชอบชั่วดี บทความนี้เป็นบทความหลักในการประชุม "ปัญญาประดิษฐ์กับพุทธศาสนา" ที่มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด วันที่ 27*28 กุมภาพันธ์ 2568
มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด โดย Faculty of Asian and Middle Eastern Studies จัดการประชุมวิชาการ "AI and Buddhism" หรือ "ปัญญาประดิษฐ์กับพระพุทธศาสนา" ในวันที่ 27 - 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 เอพิโสดนี้เล่าถึงที่มาที่ไปของการประชุมนี้ และข้อเสนอในการตอบคำถามสำคัญๆเกี่ยวกับเอไอและพระพุทธศาสนา
ในเอพิโสดนี้ เราพูดกันเรื่อง "ความสามารถในการอธิบายได้" หรือ explainability และ "ความโปร่งใส" หรือ transparency ของระบบเอไอ ความสามารถในการอธิบายได้ หมายถึงการที่ระบบเอไอสามารถบอกเราที่เป็นมนุษย์ได้ว่า มันได้คำตอบที่มันเสนอมานี้ได้อย่างไร การที่ระบบไม่สามารถบอกได้ว่ามันได้คำตอบมาได้อย่างไร ทำให้เราไม่สามารถไว้วางใจระบบดังกล่าวได้อย่างเต็มที่
ในตอนนี้เราพูดกันเรื่อง "อคติจากอัลกอริธึม" หรือ algorithmic bias ซึ่งได้แก่อคติในการตัดสินหรือการให้ผลการวิเคราะห์ของเอไอ อคติเช่นนี้อาจมาจากอคติที่มีอยู่ก่อนแล้วในสังคม หรือมาจกการวิเคราะห์ตามโจทย์ของเอไอเอง อคติจากอัลกอริธึมเป็นการให้ผลการวิเคราะห์ของเอไอ ซึ่งทำให้คนบางกลุ่มได้ประโยชน์ หรือคนบางกลุ่มเสียประโยชน์ โดยปราศจากเหตุผลที่เพียงพอว่าเหตุใดต้องเป็นเช่นนั้น
ในพอดแคสต์ตอนนี้ เราพูดเรื่องความเป็นส่วนตัว หรือ privacy ในภาษาอังกฤษ หัวข้อมีเรื่องที่มาที่ไปของความเป็นส่วนตัว ความเป็นส่วนตัวคืออะไร ทำไมเรื่องนี้ถึงเป็นเรื่องใหญ่ เทคโนโลยีที่มีแนวโน้มละเมิดความเป็นส่วนตัว และเรื่องความเป็นส่วนตัวกับวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน
แนะนำพอดคาสต์ ทำความรู้จักกัน จริยธรรมปัญญาประดิษฐ์คืออะไร
Does hearing about a true crime case always leave you scouring the internet for the truth behind the story? Dive into your next mystery with Crime Junkie. Every Monday, join your host Ashley Flowers as she unravels all the details of infamous and underreported true crime cases with her best friend Brit Prawat. From cold cases to missing persons and heroes in our community who seek justice, Crime Junkie is your destination for theories and stories you won’t hear anywhere else. Whether you're a seasoned true crime enthusiast or new to the genre, you'll find yourself on the edge of your seat awaiting a new episode every Monday. If you can never get enough true crime... Congratulations, you’ve found your people. Follow to join a community of Crime Junkies! Crime Junkie is presented by audiochuck Media Company.
The latest news in 4 minutes updated every hour, every day.
If you've ever wanted to know about champagne, satanism, the Stonewall Uprising, chaos theory, LSD, El Nino, true crime and Rosa Parks, then look no further. Josh and Chuck have you covered.
Listen to 'The Bobby Bones Show' by downloading the daily full replay.
Latino USA is the longest-running news and culture radio program in the U.S. centering Latino stories, hosted by Pulitzer Prize winning journalist Maria Hinojosa Every week, the Peabody winning team brings you revealing, in-depth stories about what’s in the hearts and minds of Latinos and their impact on the world. Want to support our independent journalism? Join Futuro+ for exclusive episodes, sneak peaks and behind-the-scenes chisme on Latino USA and all our podcasts. www.futuromediagroup.org/joinplus